Fuzion Helpful Tips 🗣 มีสาระดีๆ มาบอกต่อทุกคนค่ะ
มีเวลาว่างๆ ลองหยิบอุปกรณ์เครื่องเสียงที่มีอยู่มาทำความสะอาดให้เหมือนใหม่ พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันออกไป ก่อนทำความสะอาดแนะนำอ่านโพสต์นี้ให้จบก่อนนะคะ 🥰
พร้อมแล้ว ! ไปอ่านวิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ตัวแรกกันเลยค่ะ
How to ทำความสะอาดตู้ลำโพง
เนื่องจากลำโพงแต่ละชนิดมีการดูแลและทำความสะอาดที่แตกต่างกัน ขั้นตอนแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเช็คก่อนจะลงมือทำความสะอาดลำโพงของตนเองเบื้องต้น ได้ดังนี้
- ตรวจสอบคู่มือสำหรับลำโพงของคุณเพื่อหาคำแนะนำในการทำความสะอาดที่ถูกต้องที่สุด
- ใช้แปรงปัดฝุ่นที่เกาะลำโพงภายนอกออกก่อน
- ใช้เครื่องเป่าฝุ่น เป่าฝุ่นที่อาจจะตกค้างอยู่ด้านในออกมา
- ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือผ้าที่ไม่มีขน ลองทดสอบกับน้ำยาที่คุณต้องการจะใช้ทำความสะอาดลำโพง เช็ดลงบนบริเวณที่ไม่เด่นชัดของตู้ลำโพงก่อน หากลองแล้วพื้นผิวดูปกติ ไม่เกิดความเสียหาย จึงค่อยทำความสะอาดส่วนที่เหลืออื่นๆของลำโพง
——–
หมายเหตุ: หากวัสดุลำโพงเป็นไม้ ผ้า หรือ วัสดุอื่นที่สามารถอุ้มน้ำและเก็บความชื้นได้ง่าย ห้ามใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเด็ดขาด ทางที่ดีที่สุด ควรใช้น้ำยาที่เหมาะสำหรับทำความสะอาดพื้นผิวลำโพงของคุณโดยเฉพาะ หรือ น้ำยาเคลือบเงาทั่วไปก็สามารถใช้ได้ค่ะ
ลำโพงมักเป็นที่กักเก็บฝุ่นผงละอองทั่วไป ไม่ต่างจากอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีทั้งแบบลำโพงติดตั้งงานเสียง และลำโพงทั่วไป วิธีดูแลและทำความสะอาดจึงอาจแตกต่างกันบ้าง…
How to ทำความสะอาดลำโพงติดตั้งงานเสียง?
การทำความสะอาดลำโพงติดตั้งงานเสียง ลำโพงบ้าน หรือ home stereo speaker เพื่อให้ยังดูใหม่และมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เราจึงมีวิธีทำความสะอาดสรุปเป็นข้อๆ ให้ ดังนี้ค่ะ
- ปิดการใช้งานลำโพงก่อนทุกครั้ง ทำการถอดปลั๊กและสายเคเบิลที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ออกทั้งหมด รวมถึงถอดออกจากตัวลำโพงเองด้วย
- ถอดหน้ากากลำโพงออกอย่างระมัดระวังไม่ให้ฝุ่นกระจายไปที่ดอกลำโพงมากเกินไป โดยการใช้วัสดุที่ลักษณะแบนและแข็ง ค่อยๆ แซะที่ขอบหน้ากากอย่างเบามือ (ระวังการเป็นรอยขูดขีดได้ในขั้นตอนนี้) เมื่อถอดหน้ากากลำโพงได้แล้วให้วางบนพื้นที่เรียบ จากนั้นเช็ดหน้ากากลำโพงด้วยลูกกลิ้งหรือผ้าที่ไม่เป็นขุยชุบน้ำหมาดๆ (ข้อควรระวัง ตรวจสอบวัสดุลำโพงว่าไม่เก็บความชื้นหรืออุ้มน้ำได้ง่าย เช่น พื้นผิวที่เป็นไม้ หรือกระดาษอัดแข็ง เป็นต้น)
*ในบางกรณีหน้ากากอาจมีการขันน็อตติดมา ให้ถอดน็อตออกแยกไว้ และอย่าโดนน้ำเพื่อป้องกันสนิม - เป่าฝุ่นด้วยสเปรย์อัดลมทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ (สามารถใช้เครื่องเป่าฝุ่นแทนได้ ตามที่กล่าวในตอนต้น) หรือหากไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ สามารถใช้แปรงปัดที่มีขนนุ่ม เช่น แปรงแต่งหน้า (ที่ไม่ผ่านการใช้งานมาก่อน) ให้ระวังเป็นพิเศษเมื่อปัดฝุ่นที่ดอกลำโพงเพราะมีความละเอียดอ่อนมาก
- ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ชุบน้ำและบิดให้เกือบแห้ง เช็ดลำโพงให้ทั่ว ระวังอย่าออกแรงเช็ดที่ดอกลำโพง หรือสามารถเว้นไว้ได้
- ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์แห้ง เช็ดซ้ำ เพื่อทำให้ไม่ทิ้งคราบน้ำหรือคราบฝุ่น
- หากมีวัสดุที่ทำด้วยผ้า หรือตำแกรง ให้ใช้ลูกกลิ้ง (กระดาษกาว) ดักฝุ่นกลิ้งให้ทั่ว
หลังจากทำทุกขั้นตอนแล้ว ประกอบหน้ากากลำโพงเข้าตามเดิม พร้อมใช้งานได้อีกครั้งค่ะ หากรู้สึกว่ายุ่งยากเกินไป สามารถรับบริการได้ที่ ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ -- เราพร้อมดูแล รับประกันความพึงพอใจ สมราคา เพื่อให้ลำโพงที่คุณรักยังคงทำงานต่อเนื่องได้อีกนาน
How to ทำความสะอาดลำโพงอื่นๆ ?
เพราะชีวิตต้องมีเสียงเพลงและความบันเทิง โดยเฉพาะในยุค social media พูดได้เลยว่าจะขาดลำโพงไปไม่ได้ เราจึงนำเทคนิคการทำความสะอาดลำโพงใกล้ตัว อย่าง ลำโพงบลูทูธ ลำโพงโทรศัพท์มือถือ ลำโพงโน็ตบุ๊ค ซึ่งมีช่องลำโพงเล็กๆ แต่เป็นที่เก็บฝุ่นได้อย่างดี ทีนี้ลองมาอ่านกันค่ะว่าจะทำความสะอาดได้อย่างไรบ้าง
1. ลำโพงบลูทูธ
• ใช้แปรงแต่งหน้า (ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน) ปัดทำความสะอาดเบาๆ โดยรอบ จากนั้นใช้ผ้าแห้งที่ไม่เป็นขุยชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดลำโพงโดยรอบ แล้วใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์แห้งเช็ดซ้ำอีกครั้ง
*เพื่อป้องกันลำโพงเสียหาย อย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป หรือเครื่องเป่าลม หรือสเปรย์อัดลมทำความสะอาด กับลำโพงบลูทูธเด็ดขาด
2. ลำโพงโทรศัพท์มือถือ
• ให้ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มปัดทำความสะอาดที่ช่องลำโพง ให้ปัดออกไปทิศทางเดียวเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นย้อนกลับเข้าไปที่ลำโพงได้อีก
• จากนั้นใช้เทปกาวนิตโต้ หรือบลูเทปสำหรับทาสี ตัดแบ่งออกประมาณ 2 ซม. แล้วม้วนโดยให้ด้านที่เป็นกาวอยู่ด้านนอก แล้วไชที่ช่องลำโพงเพื่อดักฝุ่นตกค้างจากการใช้แปรงปัด นอกจากทำความสะอาดช่องลำโพงแล้ว ยังสามารถปรับใช้กับช่องเสียงสายแจ็ค 3.5 มม. และช่องเสียบชาจแบตเตอรี่ได้อีกด้วย
*อย่าใช้น้ำหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป และหลีกเลี่ยงการใช้แรงอัดลมใดๆ ในการเป่าฝุ่น เพื่อให้ลำโพงโทรศัพท์มือถือยังใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
3. ลำโพงโน็ตบุ๊ค
• ปิดการใช้งานและถอดปลั๊กชาจแบตออกก่อนทุกครั้ง จากนั้นใช้สำลีก้าน หรือ cotton buds จุ่มแอลกอฮอล์แล้วเช็ดทำความสะอาดบริเวณณลำโพงโน็ตบุ๊คภายนอก ระวังอย่าให้แอลกอฮอล์มีปริมาณมากเกินไป (สำลีชุ่มเกินไป) ในโน็ตบุ๊คบางรุ่นอาจมีช่องลำโพงขนาดกว้างเล็กน้อย สามารถใช้แปรงสีฟันขนนุ่มปัดฝุ่นออกก่อนแล้วจึงค่อยใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดภายนอก
ด้วยวิธีง่ายๆ และอุปกรณ์ที่หาได้ไม่ยาก เพียงเท่านี้ลำโพงก็มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นและคุณภาพเสียงก็ยังดีไม่เปลี่ยนค่ะ
How to ทำความสะอาดไมโครโฟนทั่วไป ?
- ถอดตะแกรงหัวครอบไมค์โครโฟนออก
- น้ำผ้าหรือทิชชู่เปียกฉีดด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เช็ดบริเวณด้ามจับไมค์ให้สะอาด
- นำฟองน้ำที่อยู่ภายในตะแกรงครอบไมค์ มาซักด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ ล้างจนฟองน้ำไม่เหลือคราบสบู่ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
- นำแปรงสีฟันที่ไม่ใช้แล้วจุ่มน้ำสบู่อุ่นๆ ขัดเบาๆบริเวณตะแกรงครอบไมค์ ล้างน้ำให้สะอาด แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
- จากนั้นนำอุปกรณ์ทั้งหมดมาประกอบ พร้อมสำหรับใช้งานครั้งต่อไป
จากวิธีทำความสะอาดไมโครโฟนที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีไมโครโฟนอีกหลายประเภท ที่มีการใช้งานต่างกัน ดังนั้นวิธีทำความสะอาดจึงค่อนข้างต่างกันพอสมควร…
เราได้แบ่งการทำความสะอาดไมโครโฟนเพิ่มเติมเป็นประเภทไมโครโฟนติดกล้อง , ไมค์หนีบปกเสื้อ (Lavalier Mic) , ตัวส่งสัญญาณไมโครโฟน รวมไปถึงฟองน้ำกันลม (Deadcat) ด้วยเช่นกัน โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
How to ทำความสะอาดไมโครโฟนติดกล้อง ?
ไมโครโฟนติดกล้องมีวิธีทำความสะอาดที่ง่ายมาก เพียงแค่ใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อฉีดพ่นรอบๆ ไมโครโฟนเท่านั้น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ต้องใส่โฟมไว้ในไมโครโฟนตลอด เพราะชิ้นส่วนโฟมนี้จะช่วยปกป้องไมโครโฟนจากความชื้น และน้ำลาย
ขั้นตอนการฉีดพ่นสเปรย์ลงบนไมโครโฟนมีดังนี้
- ยกไมโครโฟนให้ห่างจากขวดสเปรย์ประมาณ 10-15 ซม. โดยฉีดอย่างระมัดระวัง
- หลังจากฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อแล้ว ปล่อยให้ไมโครโฟนแห้งเอง 1 นาที เพื่อให้น้ำยาฆ่าเชื้อทำงาน ในส่วนของด้านในไมโครโฟน เนื่องจากส่วนดังกล่าวทำมาจากทองเหลือง จึงสามารถทนต่อเชื้อโรคและสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดในการทำความสะอาดไมโครโฟนชนิดนี้ คือ ห้ามพ่นสเปรย์ลงบนไมโครโฟนโดยตรงขณะที่ไม่มีฟองน้ำหุ้ม เพราะบริเวณตาข่ายของไมโครโฟนไม่ควรสัมผัสกับความชื้น
How to ทำความสะอาดอุปกรณ์ Wireless (ตัวส่งสัญญาณ) ?
อุปกรณ์ส่งสัญญาณเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับตัวเรามากที่สุด เพราะต้องติดไว้ที่ตัวผู้ใช้งาน วิธีที่ง่ายมากๆ และควรปฏิบัติก่อนหยิบอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้งาน นั่นคือ ฉีดสเปรย์ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol : แอลกอฮอลล์ชนิดหนึ่ง นิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในทางการแพทย์) ลงบนอุปกรณ์ก่อน เพื่อฆ่าเชื้อโรค เทคนิคที่สำคัญเพื่อช่วยให้การทำความสะอาดต่างๆ ปลอดภัยกับอุปกรณ์ด้วยก็คือ ควรใช้สเปรย์ที่มีรูพ่นขนาดเล็กละเอียด เป็นสเปรย์แอลกอฮอล์ที่ใช้สำหรับภายนอกทั่วไป และที่สำคัญต้องปิดอุปกรณ์ตลอดเวลาที่กำลังทำความสะอาดอยู่
How to ทำความสะอาด lavalier Microphone ?
>วิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้น้ำสบู่ทำความสะอาด หากว่าไมค์ที่ใช้เป็นชนิดกันน้ำ สามารถจุ่มลงไปและทำความสะอาดได้เลย เพราะไมค์พวกนี้ทำมาจากซิลิโคน เว้นแต่เพียงบริเวณขั้วเสียบตรงปลายสายที่ไม่สามารถโดนน้ำได้ เสร็จแล้วใช้สำลีซับน้ำออก หลังจากนั้นฉีดสเปรย์ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ที่บริเวณหัวเสียบ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
นอกจากนี้มีสิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากการใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์กับไมค์ lavalier อาจทำให้สายไฟแตก เปราะ หรือถูกกัดเซาะได้ และยังทำให้ยาง หรือ ซิลิโคนของไมค์ขาดความชุ่มชื้น วิธีแก้ไขปัญหานี้ คือ ใช้น้ำมันมะกอก เหยาะลงบนสำลีเล็กน้อย ถูบริเวณสายไมค์ เพื่อให้น้ำมันเป็นเกราะ ช่วยเคลือบยางซิลิโคนของไมค์ไว้
How to ทำความสะอาด Deadcat (ขนแมวกันเสียงลม) ?
Deadcat หรือ อุปกรณ์กันเสียงลมตัวนี้ บางคนอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องทำความสะอาด เพราะไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้คนเท่าไรนัก แต่กลับกันอุปกรณ์ชิ้นนี้ เปรียบเสมือนฟองน้ำขนาดใหญ่ที่ดูดซับเชื้อโรคไว้ จึงจำเป็นแก่การทำความสะอาดอย่างยิ่ง โดยการใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อพ่นลงไป หากบริเวณขนมีความเหนียวสกปรก ควรเปลี่ยนเป็นการซักด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ หรือผงซักฟอกชนิดอ่อนโยน ตากให้แห้งด้วยแสงแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกครั้งด้วยแสง UV
เมื่อซักเสร็จ ตากจนแห้งเรียบร้อยแล้ว คุณควรหวีขน จัดทรง เพราะส่วนที่พันกันมักจะเกาะเป็นก้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนได้ ทำให้ไมโครโฟนของคุณไม่สามารถกำจัดเสียงที่มาจากด้านซ้าย และด้านขวาได้ดีเท่าเดิม
How to ทำความสะอาดมิกซ์เซอร์ ?
- ใช้แปรงปัดฝุ่น ที่เกาะรอบๆ มิกเซอร์ออกก่อน
- ใช้เครื่องเป่าลม เป่าฝุ่นอีกครั้ง เพื่อความสะอาด หากใครไม่มีเครื่องเป่าลม สามารถใช้เครื่องดูดฝุ่นเปลี่ยนหัวที่มีขนาดเล็กลงแทนได้
- ใช้แปลงจุ่มน้ำยาเคลือบเงาปัดไปตามบริเวณที่ต้องการ
——–
หมายเหตุ: ควรรอให้น้ำยาที่ทำความสะอาดเครื่องมิกเซอร์นั้นแห้งดีก่อน ถึงจะสามารถเปิดเครื่องใช้งานได้ตามปกติ
ในการทำความสะอาดเบื้องต้น เราสามารถแบ่งได้ 3 วิธีตามที่กล่าวมาด้านบน ด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายๆ ใกล้ตัว แต่ในการทำความสะอาดมิกเซอร์ มีวิธีการที่ซับซ้อนและยุ่งยากมากกว่าที่กล่าวมา…
เป็นที่รู้กันดีว่าคอนโซลมิกเซอร์มักกักเก็บฝุ่น อย่างแผงวงจรภายในโดยเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องใช้ระบบไฟฟ้าในการทำงานที่ดีนั้น อาจโดนฝุ่นละอองทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของมิกเซอร์ลดลง สำหรับ Sound Engineer นั้นแล้วถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคอยดูแลและระวังให้มิกเซอร์สะอาดอยู่เสมอ เราจึงมีวิธีการทำความสะอาดมิกเซอร์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนี้
- เริ่มด้วยการใช้ผ้านุ่มไม่เป็นขุยชุบน้ำยาทำความสะอาด เช่น ไอโซโพพริล หรือ glass cleaner เช็ดทำความสะอาดรอยนิ้วมือและรอยมาร์คกิ้งต่างๆ ที่ตัว rag โดยรอม รวมถึง ปุ่มหรือลูกบิดใช้งาน และสายเคเบิล อย่าฉีดน้ำยาทำความสะอาดลงบนคอนโซลโดยตรง ให้ใช้สำลีหรือผ้านุ่มๆ ในการเช็ดรอยมือ
- ก่อนทำการถอดปุ่มหรือลูกบิด ให้แน่ใจว่าหมุนอยู่ที่ 0 ทั้งหมด จากนั้นให้ถอดออกมาล้างน้ำและเช็ดด้วยผ้าไม่มีขุย และทิ้งไว้ให้แห้ง
- ใช้แปรงพู่กันขนาด 25 มม. เป็นขนาดที่พอเหมาะในการปัดฝุ่นตรงช่องปุ่มคอนโทรล
- ขณะที่ใช้แปรงปัดฝุ่น พยายามหลีกเลี่ยงการปัดลงไปในชิ้นส่วนต่างๆ โดยเฉพาะตัวเฟดเดอร์
นอกจากนี้ ยังมีการทำความสะอาดเฟดเดอร์ ซึ่งส่วนสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ มาดูเทคนิคในการทำความสะอาดเฟดเดอร์เบื้องต้นดังต่อไปนี้ค่ะ
- ใช้ที่ดูดฝุ่นตัวเล็ก แรงดูดไม่มาก ที่มีหัวดูดไม่ใหญ่ จะช่วยดูดฝุ่นออกจากช่องว่างต่างๆ ของตัวคอนโซล โดยให้ดูดย้อนไปมาโดยเลื่อนเฟดเดอร์ขึ้นลง
- ใช้น้ำยาทำความสะอาดและเคลือบผิวโลหะ CAIG Deoxit ซึ่งจะช่วยขจัดคราบสิ่งสกปรกออกจากเฟดเดอร์
- หลังจากใช้ CAIG Deoxit แล้วให้เป่าเฟดเดอร์ เพื่อขจัดของเหลวส่วนเกินและสิ่งสกปรกที่เหลือ
เมื่อทำความสะอาดภายนอกเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ไขควงเพื่อขันน็อตและเปิดแผงคอนโซลเพื่อทำความสะอาดด้านใน ในขั้นตอนนี้ให้จัดแยกอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ อย่างน็อตออก เพื่อป้องกันการตกหล่นหรือสูญหาย และให้ถ่ายรูปหรือจำอุปกรณ์ด้านในคอนโซล เพื่อไม่ให้ผิดพลาดขณะประกอบชิ้นส่วนกลับตามเดิม
จากนั้นถอดสตริปผ้าที่เชื่อมต่อกับบอร์ดแยกจากแผงของคอนโซล แล้วใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ พู่กัน หรือสเปรย์อัดลมเป่าที่แผงให้ทั่วอีกครั้งเพื่อขจัดฝุ่นและสิ่งอื่นๆ ที่อาจเล็ดลอดเข้าไปในแผงวงจรทำงาน เพื่อให้สะอาดได้และทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาที่พบบ่อยของมิกเซอร์
เสี่ยงเสียดสีในช่อง
Try - ทำความสะอาดหัวแจ๊ค (เป็นเพียงการแก้อาการชั่วคราวจนกว่าถอดแถบผ้าออกและนำไปทำความสะอาด) ฉีด Dioxin บน ¼ นิ้ว แล้วเสียบเข้า-ออก ที่หัวแจ๊คหลายๆ ครั้ง
ไม่สามารถส่งสัญญาณไปที่ mixes อื่น
Try - ทำความสะอาดสวิตช์ pre/pose fader ไม่จำเป็นต้องถอดสตริป แค่ดึงปุ่มออกจากด้านบน, ใช้หลอดดันให้เปิดไว้แล้วสเปรย์ฉีดทำความสะอาด จากนั้นปิดเข้าที่
สวิตช์ไม่อยู่ในตำแหน่ง หรือติดล็อค
Try – ถอดปุ่มออกมา กลับหัวแล้วกดเข้าที่เดิม ถ้ายังติดอยู่ให้ลองคลายน็อตที่ใกล้ที่สุด หากไม่ได้ใส่ด้วยความแม่นยำหรือแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดความตึงบนเฟรมมากเกินไป ซึ่งส่งผลต่อรูปร่างของร่องปุ่ม
ปัญหาความผิดปกติที่เกี่ยวกับการรับส่งสัญญาณไม่ได้
Try – ดึงสตริปแล้วตรวจสอบที่สายริบบอน
ไม่มีเวลาหรือไม่อยากจะทำความสะอาดคอนโซลด้วยตัวเอง
Try – แนะนำว่าควรทำความสะอาดทุกวันให้เป็นกิจวัตรหลังจากการใช้งานเพื่อป้องกันฝุ่นและรอยมือ แต่หากไม่มีเวลาหรือต้องการผู้ช่วย มองหาบริการจากบริษัทที่ไว้วางใจได้และมีประสบการณ์อย่าง ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ -- เราพร้อมดูแล รับประกันความพึงพอใจ สมราคา เพื่อให้คอนโซลที่คุณรักยังคงทำงานต่อเนื่องได้อีกนาน
How to วิธีทำความสะอาดแอมป์ ?
- ใช้แปรง หรือ ไม้ขนไก่ ปัดฝุ่นที่เกาะอยู่บริเวณภายนอกแอมป์ออกก่อน
- ใช้เครื่องเป่าลม เป่าฝุ่นออกอีกครั้ง
- ใช้ผ้าหมาดๆ เช็ดทำวามสะอาดโดยรอบ
- หลังจากนั้นลงน้ำยาเคลือบเงา โดยใช้ผ้าที่ไม่มีขน เช็ดเคลือบเงาแอมป์
เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้แอมป์ที่เงาวับ เหมือนใหม่อีกครั้ง แต่นี่เป็นเพียงวิธีการเบื้องต้นเท่านั้น ที่อาจจะยังไม่ทำให้แอมป์ของคุณสะอาดพร้อมใช้งานได้ 100%…
เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะมีอุปกรณ์เสียงที่ครบสมบูรณ์ในการใช้งาน แอมป์ หรือ power amplifier ก็เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญ และก็เป็นที่กักเก็บฝุ่นได้อย่างดีเลยทีเดียว และในบางครั้งก็มีโอกาสเกิดเป็นคราบเหนียวจากฝุ่นผงควันจากอากาศที่สะสมมานาน ซึ่งจะทำให้มีผลในการใช้งานอุปกรณ์ได้ไม่เต็มที่ แถมการทำความสะอาดแค่เพียงปัดฝุ่นหรือใช้ลมอัดเป่ายังไม่เพียงพอในการขจัดฝุ่นเหล่านั้น – จะทำยังไงดี? ลองมาอ่านวิธีเหล่านี้ดูค่ะ ที่พอจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นได้ดีขึ้นในเบื้องต้น
- อันดับแรกเลยที่ต้องไม่ลืมเหมือนอุปกรณ์อื่นๆ คือปิดการใช้งานทั้งหมดของเครื่อง และถอดปลั๊ก ถอดสายเคเบิลที่เชื่อมต่อออกทั้งหมด
- ดังที่กล่าวมาแล้วด้านบน ให้ใช้แปรง และที่ดูดฝุ่น เพื่อขจัดฝุ่นภายนอกออก ในขั้นตอนนี้ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ประเภทสเปรย์อัดลม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นกระจายไปตามรอยแยกและขอบมุมต่างๆ ของแอมป์ ซึ่งจะยิ่งทำให้ทำความสะอาดยากขึ้นไปอีก
- ใช้น้ำยาล้างหน้าผิวสัมผัส Contact Cleaner พ่นทำความสะอาดสวิตช์และพอตแอมป์ แนะนำว่าควรหาน้ำยาที่มีดีมีคุณภาพ ราคาอาจจะสูงหน่อย แต่มั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย จากนั้นให้หมุนปุ่มไปมา หรือกดขึ้นลง ตามลักษณะของปุ่ม และหากแอมป์มีซ็อกเก็ตหูฟังให้ฉีดน้ำยาล้างเข้าไปด้านในแล้วเสียบ-ถอดปลั๊กหูฟัง 2-3 ครั้ง
- หลังจากนั้นให้ใช้ไขควง หรือวัสดุแบนแข็ง ในการไขน็อตและแซะเพื่อเปิดฝาครอบด้านบนออก จากนั้นค่อยๆ ถอดปุ่มบิดและตัวสวิตซ์ออก ในขั้นตอนนี้ให้มั่นใจว่าได้จัดพื้นที่ในการวางแต่ละอย่างไว้อย่างดี ไม่ปนกัน และไม่ตกหล่นหายได้ – อย่าลืมว่าควรถ่ายรูป หรือจดบันทึกไว้เพื่อช่วยในการประกอบกลับเข้าตามเดิมได้โดยไม่มีปัญหา
- ถอดสายสัญญาณต่างๆ และบอร์ดวงจรที่อยู่ภายในออกก่อนจะทำความสะอาดในขั้นต่อไป – ควรใช้ความระมัดระวังและเบามือเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย และควรหลีกเลี่ยงการขยับเคลื่อนหรือถอดตัว capacitor ออกโดยเด็ดขาด
- สามาถนำบอร์ดวงจรไปล้างน้ำ และถูเบาๆ เพื่อชำระล้างคราบฝุ่นออก จากนั้นซับด้วยผ้าไม่เป็นขุย และผึ่งไว้ หรือใช้ลมเป่าให้แห้ง
- ตัวเชื่อมต่อประเภท RCA ที่แผงด้านหลังสามารถทำความสะอาดได้โดยการทำให้เปียกด้วยน้ำยาล้างหน้าผิวสัมผัส Contact Cleaner เช่นกัน แล้วลองเสียบหัว RCA และหมุนไปมาประมาณ 1 ใน 4 รอบ 2-3 ครั้ง
หลังจากทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว เราก็จะมีแอมป์ที่พร้อมใช้งานและดูใหม่ สะอาดเอี่ยม – แต่หากรู้สึกว่ายุ่งยากหรือไม่มีเวลา ลองหาผู้ช่วยที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มานานจาก ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ ที่นอกจากจะช่วยดูแลอุปกรณ์ทุกงานเสียงให้สะอาดเหมือนใหม่แล้ว ยังชำนาญการซ่อมและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ให้อุปกรณ์ที่รักยังอยู่กับคุณไปได้อีกนาน
นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานเสียงที่เราได้รวมรวบวิธีทำความสะอาดมาแล้วนั้น ในการทำงานจริงอุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะทำงานได้ จึงต้องมีการต่อสายไฟ สายเชื่อมต่อสัญญาณต่างๆ ร่วมด้วย เราจึงไม่พลาดที่จะแนะนำวิธีทำความสะอาดสายไฟเพิ่มเติมดั้งนี้
How to ทำความสะอาดสาย XLR ?
สายเชื่อมต่อและชิ้นส่วนอื่นๆ ก็สามารถใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อทำความสะอาดได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากมีสิ่งสกปรกอื่นๆ ติดบริเวณขั้วสาย เช่น เมือกกาว ความเหนียวที่ตกค้างจากเทปกาว หรือ สิ่งสกปรกที่ติดมาตอนที่วางสายไฟไว้บนพื้น เรามีเคล็ดลับมาแนะนำ คือ ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของน้ำมันออแกนิค หรือ น้ำมันออแกนิค เช่น น้ำมันมะกอก โดยวิธีการทำความสะอาดให้ปฏิบัติดังนี้
- นำผ้าสะอาด ใส่น้ำยา หรือ น้ำมันมะกอกที่เตรียมไว้ลงไปเล็กน้อย
- เช็ดถูบริเวณสายที่มีความเหนียว และ สิ่งสกปรกติดอยู่
เพียงเท่านี้สายไฟที่เคยสกปรก จะกลายเป็นสายไฟที่ดูสะอาดขึ้นมาทันที
สุดท้ายนี้ หากลูกค้าท่านใดต้องการส่งอุปกรณ์ต่างๆ มาให้เราทำความสะอาดให้ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ชนิดใดที่เกี่ยวกับเสียง แสง และภาพ ฝ่ายเซอร์วิสของเรายินดีให้บริการค่ะ
สามารถติดต่อมาที่ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ ได้ทุกช่องทาง
ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่าน ที่ไว้วางใจฟิวชั่นค่ะ
———-
#PUKKABRANDS
#ตรงงาน
#ตรงเวลา
#ตรงใจ
———-
🎉🎈🎛🔈🎙️📽️🎬🎈🎉
Line ID: @fuzion
Tel: 02-641-4545
Email: [email protected]
———-
Website: www.fuzion.co.th
Facebook: Fuzion Far East (https://www.facebook.com/FuzionFarEast/)
Fuzion Facebook Group: Fuzion Privilege Group ( https://www.facebook.com/groups/1337192743101573/)
Youtube subscribe: www.youtube.com/fuzionfareastbkk
Instagram: fuzionbkk (https://www.instagram.com/fuzionbkk/)
#fuzion #fuzionfareast #wedefineourbrands #wearethebest #justuseus #WearethebestJustuseus #Live #recommend #bands #music #studio #microphone #Mixer #greatquality #speaker #helpfultips #ตรงงาน #ตรงเวลา #ตรงใจ