ทำไมถึงต้องมีห้อง Immersive Sound เพื่อสอนนักศึกษา
มาอ่านเรื่องราวความเป็นมาต่างๆ ของห้องปฏิบัติการเสียง (ชาวฟิวชั่นอย่างเราขอเรียกว่า Genelec Immersive Sound Room) ที่มีการติดตั้งระบบ Dolby Atmos ณ วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ห้องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมต้องมีห้องนี้เพื่อใช้สอนนักศึกษา มาลองอ่านเรื่องราวบทสรุปการพูดคุยเล่าเรื่องราว ที่ได้คุณวรวิทย์ พิกุลทอง หรือ บอย อินคา มือคีย์บอร์ดวงอินคา อันโด่งดังในยุค 90s เป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินมากมาย มาช่วยแนะนำและอธิบายถึงความสำคัญของห้องปฏิบัติการเสียง และยังได้คุณโสฬส ปุณกะบุตร กูรูเพลงเมืองไทย ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินดังมากมาย ที่มาช่วยเสริมความรู้ของห้องนี้ได้อย่างดี ซึ่งทั้งสองท่านนอกจากจะทำงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังวงการเพลงและดนตรีแล้ว ยังเป็นอาจารย์สอนภาควิชาวิศวกรรมดนตรี (Music Engineering & Multimedia) อีกด้วยค่ะ และบุคคลที่สำคัญอีกท่านที่ทำให้เกิดห้องนี้ขึ้นมาก็คือ ผศ.ดร. พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดีวิศวกรรมสังคีต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
หากจะพูดถึงจุดเริ่มต้นของห้องปฏิบัติการเสียง หรือ Genelec Immersive Sound Room นี้ “ก็เริ่มมาจากการที่ทางคณะจะมีการพานักศึกษาไป field trip กันที่ญี่ปุ่น ก็ได้ไปที่ NHK และ Tokyo University of Arts แล้วได้พบกับอาจารย์ที่เขาทำระบบ immersive sound ที่จะใช้รองรับงานเปิดโตเกียวโอลิมปิก และคิดว่าระบบนี้จะก้าวข้ามอุตสาหกรรมดนตรีในอนาคตแน่” – ผศ.ดร. พิทักษ์ ได้กล่าว เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและสามารถช่วยพัฒนาวงการเสียงในประเทศไทยได้ จึงได้นำเรื่องนี้ปรึกษากับทีมอาจารย์ โดยสิ่งสำคัญหลักๆ ในการสร้างห้อง Immersive Sound นี้ได้ก็คืออุปกรณ์ระบบเสียงและผู้เชี่ยวชาญ
และด้วยความบังเอิญประจวบเหมาะกับที่คุณบอยกำลังอยู่ในช่วงทำไลฟ์สตรีมิ่งคอนเสิร์ต ก็ได้มีการรีเควส ต้องการได้ภาพเป็นรูปแบ VR หรือ 360° ทางคุณบอยจึงได้เสนอว่าเสียงควรจะต้องเป็น 360° เช่นกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลและไปในทิศทางเดียวกันทั้งภาพและเสียง ทำให้คุณบอยได้เริ่มศึกษาค้นคว้าว่าต้องทำอย่างไรให้เสียงเป็นรอบทิศทางและได้อรรถรสเหมือนอยู่ในงานนั้นจริงๆ
– เมื่อหนึ่งผู้เชี่ยวชาญ ได้พบกับอีกหนึ่งผู้มีวิสัยทัศน์ ห้องปฏิบัติการเสียง (Genelec Immersive Sound Room) จึงได้เริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวจนเสร็จสิ้นได้สำเร็จ และยังถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก Dolby Atmos อีกด้วย
“เมื่อ apple เกิด apple music ขึ้นมา จากที่ตอนแรกตั้งใจว่าจะออกแบบห้องนี้เพื่อส่งเด็กๆ ออกไปตามห้อง post หนัง เพราะระบบห้องนี้ก็เหมือนในห้องทำหนังเลย เพราะด้วยสเปคที่ Dolby กำหนด ทีนี้ จึงเห็นว่าเราสามารถขยายไปที่อุตสาหกรรทดนตรีได้อีกด้วย คนที่เป็นนักดนตรี เป็น music producer แทนที่จะมิกซ์ 2D อย่างเดียว ก็มามิกซ์เป็น 3D ได้ด้วย” - คุณบอยกล่าว
“เมื่อต้นปี (2565) คุณบอย กับคุณติ๊ด ก็เป็นคนไทยคนแรกที่อัปเพลงที่เป็น Dolby Atmos ขึ้นไปบน apple music” – ผศ.ดร.พิทักษ์กล่าวเสริม สำหรับการรับรองจาก Dolby Atmos ที่ทางวิทยาลัยสังคีตได้มานั้น เป็น Certificate ประเภท Home Entertainment ซึ่งหมายความว่า หากเราต้องการนำเพลงหรือคอนเสิร์ตไปออนไลน์บนระบบสตรีมมิ่งต่างๆ ที่อาจมีการขึ้นระบุโลโก้ Dolby Atmos นั้น เสียงของผลงานเหล่านั้นจะต้องผ่านการทำงานจากระบบเสียงอย่างห้องปฏิบัติการเสียง (Genelec Immersive Sound Room) นี้เท่านั้น ซึ่งจะมีบันทึกชื่อห้องสตูดิโอนั้นๆ ในระบบของ Dolby ไว้ และทาง Dolby จึงจะ certified ว่าผลงานชิ้นนั้นได้ผ่านการรับรอง และสามารถใส่โลโก้ Dolby ไว้ที่ผลงานได้
ในการจะสร้างห้องเพื่อการทำเสียงให้ได้ตามมาตรฐานของ Dolby นั้น ประกอบด้วยหลายอย่างทั้ง software และ hardware ที่เรียกว่า RMU หรือ Rendering Machine Unit ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Pro Tools เท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดต้องรองรับการทำงานเสียงให้ออกมาได้ตรงตามที่ Dolby กำหนด ไม่เพียงเท่านั้น ขนาดห้องก็มีความสำคัญเช่นกัน – และสิ่งสำคัญไม่เป็นรองอุปกรณ์อื่นๆ ก็คือลำโพง ที่ก็มีข้อกำหนดมาตรฐานมากมาย โดยห้องปฏิบัติการเสียง ห้องนี้ก็ได้รับความไว้วางใจและใช้ลำโพง Genelec ทั้งห้องรวม 11 ใบ และ subwoofer ของ Genelec เช่นกัน อีก 2 ใบ
“ปกติเวลาเรามิกซ์สเตอริโอ จะมีแค่ 2 ลำโพง แต่ที่ห้องนี้มีลำโพงเยอะแยะเลย ทำไมต้องมีเยอะ” - คุณติ๊ด ได้กล่าวถามคุณบอย เป็นการเปิดประเด็นในเรื่องนี้ ซึ่งทางคุณบอยเองก็ได้อธิบายว่า “Dolby Atmos ต่อยอดมาจาก Dolby Surround ซึ่งเดินทางมาถึงจุดสุดท้าย ระบบเล็กที่สุดคือ 7.1 ก็คือมีลำโพงรอบเรา 7 จุด ประกอบด้วย ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ตรงกลาง อย่างละ 1 รวมเป็น 7 ใบ และอีกจุด 1 เป็นเบส หรือ subwoofer” - คุณบอยกล่าวตอบ
“และเมื่อเป็น Dolby Atmos คือต่อยอดโดยการเพิ่มลำโพงที่ด้านบนทั้งหมด 4 จุด ก็คือ ซ้าย-ขวา อย่างละ 2 ใบ และถ้าห้องยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็อาจใช้ลำโพงรอบตัวได้ถึง 9 ใบ และด้านบนอีก 6 ใบ เป็น 9.1.6 แต่โดยมาจรฐานแล้วก็คือนิยมเป็น 7.1.4 นะครับ” – คุณบอยอธิบายเพิ่มเติม
นอกจากการเซ็ตระบบลำโพงเพื่อให้รองรับข้อกำหนดของ Dolby Atmos กันแล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่ากำหนดต่างๆ ของลำโพง เช่น ค่าความดังที่จะต้องเป็น 79 Db SPL สำหรับ 7.4.1 ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดของห้อง และต้องเป็น Full Range ทุกใบ และสำหรับ subwoofer นั้น ทาง Dolby จะเรียกว่า LFE ซึ่งย่อมาจาก Low Frequency Effects เนื่องจากระบบเสียงภาพยนตร์จะมองต่างจากระบบเสียง PA ซึ่งจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เพื่อซับแรงสะเทือน ซึ่งในบางกรณีที่อาจจะมี subwoofer ที่ไม่ได้ตามข้อกำหนด ก็อาจจำเป็นต้องที subwoofer เพิ่มอีก 1 ใบ เป็น 2 ใบ โดยทาง Dolby จะทำการวัดค่าเสียงทุกครั้ง
นอกจากการเซ็ตระบบลำโพงเพื่อให้รองรับข้อกำหนดของ Dolby Atmos กันแล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่ากำหนดต่างๆ ของลำโพง เช่น ค่าความดังที่จะต้องเป็น 79 Db SPL สำหรับ 7.4.1 ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดของห้อง และต้องเป็น Full Range ทุกใบ และสำหรับ subwoofer นั้น ทาง Dolby จะเรียกว่า LFE ซึ่งย่อมาจาก Low Frequency Effects เนื่องจากระบบเสียงภาพยนตร์จะมองต่างจากระบบเสียง PA ซึ่งจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เพื่อซับแรงสะเทือน ซึ่งในบางกรณีที่อาจจะมี subwoofer ที่ไม่ได้ตามข้อกำหนด ก็อาจจำเป็นต้องที subwoofer เพิ่มอีก 1 ใบ เป็น 2 ใบ โดยทาง Dolby จะทำการวัดค่าเสียงทุกครั้ง
เมื่อการพูดคุยจบลง คุณบอยก็ได้ทดลองมิกซ์ให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งทำให้เห็นถึงความสำคัญของระบบเสียงเพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ยิ่งสถาบันการศึกษามีพัฒนาอุปกรณ์การเรียน นักศึกษาก็จะยิ่งมีคุณภาพ และออกมาเป็นบุคลากรในสายอาชีพได้อย่างดี – หวังว่าบทความที่ไม่สั้นไม่ยาวเกินไปเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์ให้ผู้อ่านบ้างนะคะ และยังสามารถดูฉบับวิดีโอได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JoTavdxvLhY
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าที่กล่าวมาในบทความนี้ สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ จำกัด
Stay Connected
Sign up below to stay up to date with what we are up to!
———-
#PUKKABRANDS
#ตรงงาน
#ตรงเวลา
#ตรงใจ
———-
🎉🎈🎛🔈🎙️📽️🎬🎈🎉
Line ID: @fuzion
Tel: 02-641-4545
Email: [email protected]
———-
Facebook: Fuzion Far East
Fuzion Facebook Group: Fuzion Privilege Group
Youtube subscribe: fuzionfareastbkk
Instagram: fuzionbkk