จุดเริ่มต้นของห้อง Immersive Atmos ที่ Mr.Team Production

จุดเริ่มต้นของห้อง Immersive Atmos ที่ Mr.Team Production
[post_published]

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางบริษัทมิสเตอร์ทีม โปรดักชั่น ได้มีการจัดงาน open house เปิดบ้านจัดอบรมระบบเสียงแบบ immersive โดยมีการใช้อุปกรณ์ทั้งหมดจาก ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ ทั้ง Nexo, Symetrix, Camco และ Klang ซึ่งก็ได้คุณวรวิทย์ พิกุลทอง หรือคุณบอย อินคา เป็นผู้บรรยาย และคุณป๊อก สุทัศน์ ก่อเกียรติ ผู้บริหารบริษัท ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ และมิสเตอร์ทีม โปรดักชั่น เป็นผู้เปิดบ้านพาไปเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ในครั้งนี้

โดยจุดเริ่มต้นการเปิดบ้านอบรมครั้งนี้ มาจากที่ระบบเสียง Dolby Atmos เริ่มเข้ามามีบทบาทในเรื่องของ Music ซึ่งนอกเหนือจากงานเพลงประกอบภาพยนตร์แล้ว ยังเริ่มมีการเข้ามาในช่องทางของ Apple Music  และได้พยายามให้ Music Producer หลายท่านสร้างงานเพลงและมิกซ์เสียงในระบบ Atmos และทำการอัพโหลดสตรีมมิ่งบน Apple Music แต่ผลปรากฎว่าห้องที่ใช้มิกซ์เสียงผลงานเหล่านี้ ไม่เหมาะกับงานทำเพลง เพราะการจะทำเพลงในระบบ Atmos นั้นจำเป็นต้องใช้ห้องสตูดิโอสำหรับงานภาพยนตร์ที่มีทั้งภาพและเสียง และการที่นักทำเพลงอย่างจะหาเช่าห้องทำเพลงระบบ Atmos โดยเฉพาะ มักหาได้ยากและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ซึ่งทางคุณบอยก็ได้เห็นถึงความสามารถ และความอุตสาหะของ Sound Engineer ที่ทำผลงานเหล่านี้ออกมา เพราะมีความยุ่งยากมากในการทำเพลงสักครั้ง จะต้องมีการนำลำโพงมา set up และ calibrate ใหม่ทุกครั้ง และทำเช่นนี้ทุกวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ และมองว่าควรจะมีห้องทำงานเพลงที่มีประสิทธิภาพมากพอ และเป็นระบบ Dolby Atmos ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็มีที่วิทยาลัยวิศกรรมสังคีต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้สร้างห้องระบบ Dolby Atmos ขึ้นมา โดยระบบเสียงห้องนี้ก็ได้คุณป๊อกและทีมงานช่วยแนะนำและปรับจูนเสียงให้ด้วย แต่ด้วยสถานการณ์โควิดและเมื่อมีการต้องปรับจูนเสียงและติดต่อตัวแทนของ Dolby ที่ต่างประเทศต้องใช้การวิดิโอคอลเป็นประจำ จึงทำให้คุณป๊อก และคุณโย (sound engineer ทีมงาน) ค้นพบวิธีการบางอย่างเกี่ยวกับระบบ Dolby

และจากการที่คุณบอยได้ลองมิกซ์เสียงด้วยหูฟัง อย่างที่ Apple กับ Dolby ร่วมมือกัน และนำผลงานนั้นไปเปิดในห้องที่มีลำโพงแบบกระจายออก เป็น immersive ปรากฎว่าผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ได้ดีเท่าและแม่นยำอย่างที่คาดหวังไว้  คุณบอยจึงได้มีการปรึกษาหารือกับคุณป๊อกให้ทำห้องนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานให้ได้คุณภาพแบบ Dolby Atmos และคุณป๊อกก็เห็นด้วย จึงได้ทำการ  Set up ห้องนี้ขึ้นมาเป็น Dolby Atmos 7.1.4 โดยตัวระบบประกอบไปด้วยลำโพง NEXO PS8, คอนโทรลเลอร์ Symetrix Radius, และแอมป์ Camco นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจาก Klang ซึ่งเหมาะกับการนำไปทำเป็น immersive แล้ว streaming โดยการฟังด้วยหูฟัง

 และคุณบอยยังได้มีการทดลองนำเพลงมามิกซ์ในห้องนี้ และอัพโหลดขึ้นไปที่ Apple Music จึงทำให้เกิดผลงานเพลงไทยเพลงแรก ที่เป็นระบบ Dolby Atmos ใน Apple Music

นอกจากนั้นยังได้ค้นพบวิธีการเล่นเพลงนั้นจาก Apple Music กลับมาทดสอบที่ลำโพงเดิม เรียกได้ว่าไฟล์ Master กับ ไฟล์ที่อยู่ในโทรศัพท์ เปิดเทียบกันแบบ A/B testing ว่าความแม่นยำของเสียงในเพลงนั้นจะตรงกับที่คิดไว้แต่แรกไหม เพราะเป็นวิธีที่ใช้แอพพลิเคชั่นและซอฟต์แวร์แบบ Full Digital ทั้งหมด

ปรากฎว่าเมื่อเช็คความแม่นยำแล้ว ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจมากถึง 97-98 % เนื่องจากระบบที่ Apple ส่งกลับมาหาเรา ไม่ใช่ไฟล์ Master อยู่แล้วแต่ด้วยเทคโนโลยีของ Dolby สามารถทำให้เราได้ยินผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่กล่าวไป ทำให้เป็นที่มาว่าการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้สามารถเชื่อถือได้

คุณบอยเลยอยากจะส่งต่อความรู้นี้ถึงหลายๆ คนว่าวิธีการทำงานด้วยหูฟังอาจจะให้ความแม่นยำไม่มากพอ ถ้าเราคิดว่าเราจะมิกซ์เป็นแบบ Dolby Atmos อัพโหลดลงในช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ก็ควรจะหาสถานที่ที่เหมาะในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ถูกต้อง และสามารถ Re-check ได้ เป็นสิ่งที่คนมิกซ์เสียงทุกคนต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก