แนะนำ 4 ไมค์ Rode คุณภาพดี

หากกำลังมองหาไมโครโฟนดี ๆ ไว้ใช้งาน เราขอแนะนำให้รู้จักกับไมโครโฟนจากแบรนด์ Rode แบรนด์เครื่องเสียงชั้นนำจากประเทศออสเตรเลียที่สามารถก้าวมายืนแถวหน้าของวงการไมโครโฟน โดยวันนี้เราคัดเลือกไมค์ Rode มาทั้งหมด 4 รุ่น รับรองว่าคุณภาพดี เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไปจนถึงมืออาชีพ จะมีรุ่นไหนบ้างตามไปดูกันเลย

แนะนำ 4 ไมค์ Rode ยอดนิยม

1. ไมค์ Rode Podmic USB

ไมค์ Rode Podmic USB

ไมค์ Rode Podmic USB ความพิเศษของรุ่นนี้ คือ พัฒนามาจากรุ่นก่อนหน้าอย่างไมค์ Rode PodMic ให้สามารถเชื่อมต่อด้วยพอร์ท USB-C เข้ากับคอมพิวเตอร์ หรือมือถือได้เช่นเดียวกันกับไมค์ USB ทำให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ในส่วนของเรื่องคุณภาพเสียง บอกเลยสาย Streaming ถูกใจแน่นอน เพราะตัวนี้ให้คุณภาพเสียงสูง มาพร้อมกับ Pop Filter ซึ่งช่วยขจัดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการและเสียงที่ไม่เหมาะสมเพื่อการบันทึกเสียงที่ชัดเจน ตอบโจทย์ทั้งการทำ Podcast การ Live Streaming หรือการอัดเสียงสำหรับคอนเทนต์วิดีโอทั่วไป

จุดเด่น

  • ไมค์แบบไดนามิก
  • รูปแบบการรับเสียง (Polar Patterns) แบบ Cardioid
  • ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานทั้งระบบ iOS และ Android
  • มีช่องเชื่อมต่อหูฟังขนาด 3.5 mm
  • เชื่อมต่อแอปพลิเคชัน Rode Central, Rode Connect, Rode Capture และ UNIFY
  • เชื่อมต่อได้ทั้งแบบ  XLR และ USB-C
  • ผลิตด้วยโลหะ แข็งแรงและทนทาน

2. ไมค์ Rode NT-USB mini

ไมค์ Rode NT-USB mini

ใครมีงบประมาณจำกัด ขอแนะนำให้รู้จักกับไมค์ Rode รุ่น NT-USB mini ไมค์ USB ขนาดกะทัดรัดแต่อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติเจ๋ง ๆ โดย NT-USB mini พัฒนามาจากรุ่น NT-USB ให้มีขนาดเล็กลง พกพาสะดวก ตอบโจทย์คนที่มีพื้นที่วางไมค์จำกัด แต่เห็นขนาดเล็กแบบนี้ ไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพเสียง เพราะสามารถเก็บรายละเอียดเสียงได้ดีไม่แพ้รุ่นอื่น ๆ ให้เสียงคมชัดเต็มรูปแบบ ใครที่เป็นเกมเมอร์ สตรีมเมอร์ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์มือใหม่ แนะนำไมค์ Rode รุ่นนี้เลย เหมาะมากสำหรับน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าวงการไมโครโฟน เพราะรุ่นนี้ใช้ง่ายมากจริง ๆ

จุดเด่น

  • ไมค์แบบคอนเดนเซอร์
  • รูปแบบการรับเสียง (Polar Patterns) แบบ Cardioid
  • ขาตั้งแม่เหล็กหมุนได้ 360 องศา สามารถถอดไมค์ออกได้
  • มีช่องเชื่อมต่อหูฟังขนาด 3.5 mm และช่อง USB-C
  • มี Pop Filter ช่วยขจัดเสียงรบกวน
  • ฟังก์ชัน Zero-latency ช่วยลดเสียงสะท้อนขณะพูด
  • ดีไซน์สวยทันสมัย

3. ไมค์ Rode VideoMicro II

ไมค์ Rode VideoMicro II

เอาใจสายวิดีโอกับไมค์ Rode VideoMicro II ไมค์ Shotgun ที่สามารถเชื่อมต่อกับกล้องหรือสมาร์ตโฟน มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบาเพียง 39 กรัม พกพาสะดวก ความน่าสนใจของไมค์ Rode รุ่นนี้ คือ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เพียงเสียบเข้ากับกล้องหรือสมาร์ตโฟนของเราก็พร้อมใช้งานได้ทันที สะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว!

จุดเด่น

  • ไมค์แบบคอนเดนเซอร์
  • รูปแบบการรับเสียง (Polar Patterns) แบบ Supercardioid
  • มีฟองน้ำสำหรับสวมหัวไมค์เพื่อกันเสียงลมขณะบันทึกเสียง
  • มาพร้อม Pop Filter ช่วยลดเสียงรบกวน ทำให้สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งที่ร่มและกลางแจ้ง
  • มีตัวยึด HELIX™ สำหรับไมค์ Rode Videomicro II โดยเฉพาะ ป้องกันการสั่นสะเทือนและลดแรงกระแทกของไมค์ ช่วยทำให้เสียงต่อเนื่องไม่สะดุดได้ดี
  • ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เสียบสายแล้วใช้งานได้เลย

4. ไมค์ Rode Wireless Me

ไมค์ Rode Wireless Me

ไมค์ Rode Wireless Me ไมโครโฟนแบบไร้สายที่รับสัญญาณได้ไกลมากกว่า 100 เมตร เห็นเป็นไมค์ไร้สายแบบนี้หลายคนอาจจะกังวลเรื่องคลื่นรบกวน แต่รุ่นนี้เป็นไมค์สัญญาณแบบ 2.4 GHz ทำให้การส่งสัญญาณเสถียร ชัดเจน และไว้ใจได้ ที่สำคัญ คือ เป็นไมโครโฟนไร้สาย รุ่นแรกที่มีไมค์ติดตั้งทั้งตัวรับและตัวส่ง สามารถบันทึกเสียงได้ด้านหน้าและด้านหลัง  ใครมองหาไมค์ไร้สายสำหรับสัมภาษณ์แบบ 2 ทาง มีรุ่นนี้ไว้ติดกระเป๋าสักตัว รับรองว่าทำงานคล่องตัวขึ้นเยอะ

จุดเด่น

  • ไมค์แบบคอนเดนเซอร์
  • รูปแบบการรับเสียง (Polar Patterns) แบบ Omnidirectional
  • เทคโนโลยี GainAssist ที่ช่วยบันทึกเสียงให้คมชัด
  • แบตเตอรี่ในตัวสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 7 ชั่วโมง
  • มีช่องเชื่อมต่อหูฟังขนาด 3.5 mm และช่อง USB-C
  • สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งฝั่งตัวรับและฝั่งตัวส่ง
  • ตัวรับและตัวส่งเชื่อมต่ออัตโนมัติ พร้อมใช้งาน ไม่ต้องเสียเวลา Setup

ข้อควรรู้ก่อนซื้อไมค์ Rode

ข้อควรรู้ก่อนซื้อไมค์ Rode

สำหรับมือใหม่ที่อยากลงทุนกับไมค์ Rode หรือไมค์ชนิดอื่น ๆ สักหนึ่งตัว เพื่อให้การลงทุนคุ้มค่าและได้งานเสียงที่มีคุณภาพที่สุด อย่ามองข้ามสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกไมโครโฟน ดังนี้

ประเภทของไมโครโฟน

ก่อนจะเลือกซื้อไมโครโฟน ต้องศึกษาประเภทของไมโครโฟนกันก่อน เพื่อเลือกไมค์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่สุด โดยไมโครโฟนจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักด้วยกัน ได้แก่

  • ไมโครโฟนแบบไดนามิก มีความไวต่อเสียงค่อนข้างต่ำ ทำให้ลดเสียงรบกวนได้ดี เวลาใช้งานควรให้ไมค์อยู่ใกล้ปากหรือจ่อกับเครื่องดนตรี เหมาะกับเสียงพูด เสียงร้องเพลง หรือเสียงเครื่องดนตรีที่มีการกระแทกของเสียงหนัก ๆ
  • ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ มีความไวต่อเสียงเป็นพิเศษ ตอบสนองต่อย่านความถี่ได้ชัดเจน  เหมาะกับการรับเสียงที่ละเอียดสูง หรือสถานที่ที่เสียงรบกวนน้อย เช่น ใช้ในห้องบันทึกเสียง ห้องประชุม เป็นต้น จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงวงจร

รูปแบบการรับเสียง

รูปแบบการรับเสียง หรือ Polar Pattern เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกไมค์ เพราะรูปแบบการรับเสียงแต่ละแบบก็เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยรูปแบบการรับเสียงที่พบมากในปัจจุบันมีดังนี้

  • Omnidirectional รับเสียงเท่ากันทุกทิศทาง เหมาะสำหรับการนั่งคุยกันหลายคน
  • Cardioid เน้นรับเสียงด้านหน้า โดยการรับเสียงจะลดลงเมื่อเสียงอยู่ด้านข้าง และรับเสียงน้อยลงหรืออาจไม่ได้รับเสียงเลยเมื่ออยู่ด้านหลัง เหมาะการใช้งานทุกประเภท
  • Supercardioid รับเสียงได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่จะรับเสียงด้านหน้าได้มากกว่า
  • Bi-directional เน้นรับเสียงด้านหน้าและด้านหลังของไมโครโฟน

มาถึงตรงนี้หวังคุณว่าจะได้ไมค์ Rode รุ่นที่ถูกใจกันไม่มากก็น้อย ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นแตกต่างกัน ท้ายที่สุดแล้วคนที่จะใช้งานไมค์ได้อย่างคุ้มค่าก็คือคนที่เลือกไมค์ให้เหมาะกับการใช้งานของตนเองมากที่สุด สุดท้ายนี้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไมค์ Rode สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท ฟิวชั่น ฟาร์ อีสท์ จำกัด และร้านค้าตัวแทนจำหน่าย https://fuzion.co.th/dealer-location/