ระบบเครื่องเสียงคืออะไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

ระบบเครื่องเสียงคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

มือใหม่ในวงการเครื่องเสียงอาจจะมีข้อสงสัยว่า เครื่องเสียงคืออะไร? มีองค์ประกอบอะไรบ้าง? เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของเครื่องเสียงมากขึ้น วันนี้ Fuzion Far East จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องเสียง ใครที่คิดว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก อ่านบทความนี้แล้วรับรองว่าจะต้องร้องอ๋อทันที

ระบบเครื่องเสียงคืออะไร

เครื่องเสียง (Sound System) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสัญญาณเสียง ตั้งแต่กระบวนการกำเนิดเสียง ขยายเสียง ถ่ายทอดเสียง ตลอดจนกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่นั้น ๆ

เครื่องเสียงมีกี่ประเภท?

การแบ่งประเภทของระบบเครื่องเสียงนั้น หลัก ๆ แล้ว จะแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภทตามสถานที่ติดตั้งดังนี้

1. เครื่องเสียงกลางแจ้ง

เครื่องเสียงกลางแจ้ง หรือชุดเครื่องเสียงกลางแจ้ง รู้จักกันในชื่อ PA (Public Address System) คือ ชุดเครื่องเสียงที่ติดตั้งในที่สาธารณะ มีจุดประสงค์เพื่อกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะ เช่น เครื่องเสียงในลานดนตรี คอนเสิร์ตกลางแจ้ง หรือในสนามกีฬาเป็นต้น ซึ่งชุดเครื่องเสียงกลางแจ้งจะถูกออกแบบมาเพื่อให้เสียงสามารถกระจายในพื้นที่เปิดได้ดี โดยไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้ฟังในพื้นที่

2. เครื่องเสียงภายในอาคาร

เครื่องเสียงภายในห้อง คือ ชุดเครื่องเสียงที่ติดตั้งภายในพื้นที่จำกัด เช่น เครื่องเสียงห้องประชุม ห้องสัมมนา หรือห้องจัดเลี้ยงต่าง ๆ ภายในอาคาร เป็นต้น ซึ่งชุดเครื่องเสียงที่ใช้ภายในห้อง โดยปกติแล้ว ความดังของเสียงจะถูกออกแบบให้เพียงพอต่อการใช้งานตั้งแต่ขั้นตอนของการติดตั้ง  รวมทั้งเครื่องเสียงภายในอาคารจะตัวแปรในเรื่องของ ขนาดห้อง ชนิดของพื้นผิวของห้อง รวมไปถึงมีผนังห้อง หรือมุมตกกระทบของเสียงที่ช่วยกักเก็บเสียงไว้ในพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

องค์ประกอบของเครื่องเสียง

ไม่ว่าจะเป็นชุดเครื่องเสียงกลางแจ้งหรือชุดเครื่องเสียงภายในห้อง ล้วนแต่มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน ดังนี้

1. ภาคอินพุต (Input)

ภาคอินพุต (Input) หรือภาคสัญญาณเข้า คือ ชุดเครื่องเสียงที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของเสียง ไม่ว่าจะเป็นไมโครโฟน เครื่องเล่น CD DVD คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องดนตรีต่าง ๆ โดยจะส่งสัญญาณเสียงต่อไปยังอุปกรณ์ในภาคถัดไป

2. ภาคโปรเซสเซอร์ (Processor)

ภาคโปรเซสเซอร์ (Processor) หรือภาคประมวลผล เป็นภาคที่รับสัญญาณมาจากภาคอินพุต เพื่อปรับแต่งเสียงให้สามารถส่งออกไปยังเครื่องขยายเสียงได้ โดยจะปรับเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงต้นทางมากที่สุด เช่น

  • มิกเซอร์ (Mixer) ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียงที่รับมาจากภาคอินพุตเข้าด้วยกัน
  • อีควอไลเซอร์ (Equalizer) ทำหน้าที่ควบคุมความถี่ของเสียงให้อยู่ในระดับสัญญาณที่เหมาะสมตามการใช้งาน
  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ควบคุมระดับความแรงของสัญญาณเสียง โดยการบีบอัด หรือกดระดับสัญญาณเสียง
  • เอฟเฟค (Effect) ทำหน้าที่ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ เพื่อเพิ่มสีสันในการมิกซ์เสียงสำหรับนักร้องหรือเครื่องดนตรี

3. ภาคเอาต์พุต (Output)

ภาคเอาต์พุต (Output) เป็นภาคสุดท้ายปลายทางของเครื่องเสียง ทำหน้าที่ส่งออกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงที่ผ่านการปรับแต่งแล้วไปสู่การรับฟังของทุกคน โดยเครื่องเสียงในภาคนี้ประกอบด้วยเครื่องขยายเสียง ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงให้ใหญ่กว่าสัญญาณที่อินพุตเข้ามา ก่อนส่งต่อไปหาลำโพง เพื่อกระจายเสียงในขั้นตอนสุดท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเครื่องเสียงที่เรานำมาฝากกัน คงได้เห็นภาพรวมการทำงานของระบบเครื่องเสียงมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงในการติดตั้งชุดเครื่องเสียง คือ พื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นสำคัญ เพราะอุปกรณ์เครื่องเสียงแต่ละชนิดก็ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานแตกต่างกัน การเลือกใช้อุปกรณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานจะทำให้ได้เสียงที่ดี สามารถสื่อสารได้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณกำลังมองหาเครื่องเสียงคุณภาพดี  Fuzion Far East รวบรวมเครื่องเสียงมากมายให้คุณได้เลือกสรร หรือหากสนใจบริการติดตั้งระบบเสียง เรามีบริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงโดยทีมงานที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ เพื่อให้คุณมีระบบเครื่องเสียงที่สมบูรณ์แบบ

อุปกรณ์เครื่องเสียงมีอะไรบ้าง

เมื่อรู้จักพื้นฐานของระบบเครื่องเสียงกันแล้วว่า มีองค์ประกอบอะไรบ้าง Fuzion Far East จะพาไปแนะนำกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อระบบเสียงทั้งหมด ซึ่งอุปกรณ์เครื่องเสียงมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. เพาเวอร์แอมป์

เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง ให้มีกำลังสูงขึ้นเพียงพอที่จะขับลำโพงให้ดังได้ เพาเวอร์แอมป์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในระบบเครื่องเสียง เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอย่าง เครื่องดนตรี เครื่องเล่น Medida Player ไปยังลำโพง

2. ลำโพง

ลำโพง คือ อุปกรณ์สำคัญในการถ่ายทอดระบบเสียงหรือแสดงผลสัญญาณเสียงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี หรือเสียงร้องที่มาจากไมโครโฟน โดยลำโพงจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ดอกลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียงที่ได้ยิน และ ตู้ลำโพง เป็นกล่องหรือตัวถังที่ใช้บรรจุดอกลำโพง ช่วยป้องกันดอกลำโพงเสียหาย และเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายเสียง

ประเภทของลำโพง

  • ฟูลเรนจ์ (Full Range) เป็นดอกลำโพงที่สามารถตอบสนองความถี่เสียงได้กว้างที่สุดตั้งแต่ 60 Hz – 20,000 Hz หรือสามารถให้เสียงได้ครบทุกช่วงเสียง สูง – กลาง – ต่ำ ในดอกเดียวกัน ทำให้สามารถขับเสียงออกมาได้อย่างครบถ้วนและสมจริง
  • มิดเรนจ์ (Mid Range) เป็นดอกลำโพงที่ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 250 Hz – 2,000 Hz หรือเรียกอีกอย่างว่าเสียงกลาง ทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงของเสียงร้องและเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น กลอง กีตาร์ เบส เป็นต้น
  • ซับวูฟเฟอร์ (Subwoofer) เป็นดอกลำโพงที่ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 20 Hz – 200 Hz หรือเรียกอีกอย่างว่าเสียงเบสและซับเบส ทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงต่ำๆ เช่น เสียงกระเดื่องของกลอง เสียงเบสของกีตาร์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • ทวีตเตอร์ (Tweeter) เป็นดอกลำโพงที่ตอบสนองความถี่เสียงในช่วง 2,000 Hz – 20,000 Hz หรือเรียกอีกอย่างว่าเสียงแหลม ทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงสูงๆ เช่น เสียงร้องของนก เสียงสังเคราะห์ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • โคแอกเซล (Coaxial) เป็นดอกลำโพงหลายดอกอยู่ในแกนเดียวกัน โดยดอกลำโพงแต่ละดอกจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการถ่ายทอดเสียงในย่านความถี่เสียงที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปลำโพงโคแอกเซลจะมีดอกลำโพง 2 ดอก ได้แก่ ดอกลำโพงวูฟเฟอร์และดอกลำโพงทวีตเตอร์

3. เครื่องปรับแต่งสัญญาณ

เครื่องปรับแต่งสัญญาณ (Digital Signal Processor) คือ หรือ DSP คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลสัญญาณดิจิทัล โดยสัญญาณดิจิทัล คือสัญญาณที่แปลงจากสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ADC (Analog to Digital Converter) โดยเครื่องปรับแต่งสัญญาณใน DSP ที่นิยมใช้มีดังนี้

  • Equalizer เป็นชนิดหนึ่งของเครื่องปรับแต่งสัญญาณที่ทำหน้าที่ปรับแต่งความถี่ของสัญญาณเสียง โดยเฉพาะช่วยควบคุมระดับความดังของย่านความถี่ต่างๆ ภายในสัญญาณเสียงนั้น
  • Compressor ใช้ทำหน้าที่ลดช่วงไดนามิก (dynamic range) ของสัญญาณเสียง หมายถึงการลดความแตกต่างระหว่างเสียงที่ดังที่สุด (peak) กับเสียงที่เบาที่สุด (valley) ภายในสัญญาณนั้น ๆ ทำให้เสียงโดยรวมมีความสม่ำเสมอ สนุกฟังมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาเปิดเสียงดัง
  • Crossover ใช้ทำหน้าที่ แบ่งสัญญาณเสียงออกเป็นย่านความถี่ต่างๆ แล้วส่งไปยังลำโพงที่เหมาะสมกับย่านความถี่นั้นๆ เช่น ส่งเสียงเบสไปยังลำโพงซับวูฟเฟอร์ เสียงกลางไปยังลำโพงมิดเรนจ์ เสียงแหลมไปยังลำโพงทวีตเตอร์
  • Delay ใช้ทำหน้าที่ สร้างเอฟเฟกต์เสียงสะท้อน (echo) หรือเสียงก้อง (reverb) ให้กับสัญญาณเสียง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับระบบเครื่องเสียงที่เรานำมาฝากกัน คงได้เห็นภาพรวมการทำงานของระบบเครื่องเสียงมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงในการติดตั้งชุดเครื่องเสียง คือ พื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นสำคัญ เพราะอุปกรณ์เครื่องเสียงแต่ละชนิดก็ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานแตกต่างกัน การเลือกใช้อุปกรณ์เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานจะทำให้ได้เสียงที่ดี สามารถสื่อสารได้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณกำลังมองหาเครื่องเสียงคุณภาพดี Fuzion Far East รวบรวมเครื่องเสียงมากมายให้คุณได้เลือกสรร หรือหากสนใจบริการติดตั้งระบบเสียง เรามีบริการออกแบบและติดตั้งระบบเสียงโดยทีมงานที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ เพื่อให้คุณมีระบบเครื่องเสียงที่สมบูรณ์แบบ